โดย ปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
การเปลี่ยนกระบวนการในเกือบทุกฟังก์ชั่นของสังคมเป็นระบบดิจิทัล นำไปสู่การเกิดข้อมูลจำนวนมหาศาล และมีอัตราเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ คาดกันว่าการสร้างและสำรองข้อมูลทั่วโลกจะนำไปสู่การเติบโตที่อัตรา 23 เปอร์เซ็นต์ต่อปีภายในปี 2025 โดยมีแนวโน้มว่าอัตราการเติบโตในระดับนี้ จะเกินศักยภาพความจุของดาต้าเซ็นเตอร์ที่จะรับไหวในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหลายในโลก มีการใช้พลังงานคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดอยู่แล้ว และแม้ว่าอุตสาหกรรมจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อจากทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าประสิทธิภาพเหล่านั้น จะสามารถชดเชยความต้องการด้านพลังงงานของดาต้าเซ็นเตอร์ได้ในปีต่อๆ ไปได้หรือไม่
ในขณะที่อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์กำลังเร่งดำเนินการให้เท่าทันต่อความต้องการ อีกทั้งยังทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันสูงส่งด้านความยั่งยืน ในการดำเนินการทั้งสองเรื่องนี้ นอกจากอุตสาหกรรมต้องจัดการเรื่องประสิทธิภาพด้านพลังงานแล้ว ยังต้องดูแลผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอาคารและการจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ การที่ทุกบริษัทตัดสินใจเองว่าผลกระทบเหล่านี้คืออะไรบ้างและจะวัดผลกระทบอย่างไร แต่ก็เป็นเรื่องยากในการที่ลูกค้า นักลงทุนและกระทั่งผู้ประกอบการก็ตามที่จะรู้ว่าบริษัทปฏิบัติงานเป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับอุตสาหกรรมที่จะมุ่งหน้าไปสู่ความยั่งยืนในแนวทางที่มีความหมาย ต้องผสานรวมแนวคิดเรื่องของการวัด ว่าต้องวัดอะไรบ้าง วัดอย่างไร และกำหนดความสำเร็จได้อย่างไร
สร้างมาตรฐานประสิทธิภาพด้านพลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์
มาตรฐานอุตสาหกรรมด้านประสิทธิภาพความยั่งยืนและพลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์นั้นมีอยู่แล้ว ตัวชี้วัดตัวแรกสำหรับมาตรฐานการวัดประสิทธิภาพพลังงานดาต้าเซ็นเตอร์ถูกสร้างขึ้นในปี 2007 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในศัพท์สามัญที่อุตสาหกรรมใช้กันทั่วไป โดย Green Grid ได้พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือ PUE (Power Usage Effectiveness) เพื่อวัดสัดส่วนของพลังงานทั้งหมดที่ถูกใช้ไปกับไอที ประโยชน์ของการวัดมาตรฐานนั้นชัดเจน ตั้งแต่ที่มีนำเรื่องนี้มาใช้ ค่า PUE โดยเฉลี่ยในแต่ละปีของดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่มีการปรับปรุงดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจากผู้ประกอบการต่างหาทางเพิ่มประสิทธิภาพของทุกสิ่งในดาต้าเซ็นเตอร์ ตั้งแต่ระบบทำความเย็น จนถึงระบบแสงสว่าง ตัวชี้วัด PUE ช่วยนำอุตสาหกรรมไปสู่แง่มุมที่สำคัญด้านประสิทธิภาพพลังงาน พร้อมขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น และเมื่ออุตสาหกรรมต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ขยายตัวในวงกว้าง ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องก้าวต่อไปข้างหน้า
การสร้างแนวทางด้านความยั่งยืนในองค์รวม
อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ต้องมีกรอบการทำงานด้านความยั่งยืนในภาพรวม พร้อมตัวชี้วัดมาตรฐานเพี่อชี้แนะเรื่องการวางแผนสำหรับทั้งเจ้าของกิจการและผู้ดำเนินงาน ศูนย์วิจัยด้านการบริหารจัดการพลังงานของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Energy Management Research Center) ได้พัฒนากรอบการทำงานแรกของอุตสาหกรรม ด้วยการใช้ความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนและสถาปนิกด้านโซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์ มาช่วยในการคาดเดาถึงความยั่งยืนของดาต้าเซ็นเตอร์ กรอบการทำงานนี้ จัดทำขึ้นโดยใช้ตัววัดเฉพาะทางถึง 23 ประเภทด้วยกัน ซึ่งได้มีการอธิบายไว้ในเอกสาร white paper “Guide to Environmental Sustainability Metrics for Data Centers” ซึ่งเป็นชุดมาตรฐานของตัวชี้วัด ที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ มุ่งเน้นที่ผลกระทบสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยประเมินประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ อีกทั้งช่วยสร้างแผนงานเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพ
การชี้แนะแนวทางดังกล่าว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ ระบุจุดยืน ณ ปัจจุบันบนเส้นทางสู่ความยั่งยืนตามตัวชี้วัดที่ใช้ในการติดตามความคืบหน้า โดยเมื่อองค์กรกำหนดได้ว่าองค์กรตนอยู่จุดไหนของการมุ่งมั่นเพื่อสร้างความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น จุดที่ก้าวหน้า หรือนำหน้าไปแล้วก็ตาม องค์กรสามารถเลือกตัวชี้วัดเพิ่มเพื่อเริ่มติดตามผลลัพธ์ในขณะที่ก้าวไปตามเส้นทางที่วางไว้ ตัวชี้วัดเหล่านี้จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะแสดงให้เห็นถึงบริเวณหลักในดาต้าเซ็นเตอร์ที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
- พลังงาน ดาต้าเซ็นเตอร์ ใช้พลังงานในปริมาณมหาศาล การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานจึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศ กระทั่งลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดาต้าเซ็นเตอร์ สร้างก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานที่ซื้อมา รวมถึงกิจกรรมที่ไซต์งาน และจากส่วนประกอบของคาร์บอนในอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ทุกรายต้องสามารถบอกปริมาณและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ให้ได้ เพื่อหาโอกาสในการลดการปล่อยก๊าซดังกล่าว
- น้ำ ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมต้องใช้น้ำในการทำความเย็นในระบบ ซึ่งประเมินการใช้น้ำแต่ละปีอยู่ที่ 25 ล้านลิตรสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก 1MW ระบบทำความเย็นเป็นแค่หนึ่งในฟังก์ชั่นของดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้น้ำ โดยตัวชี้วัดแบบใหม่จะช่วยให้ผู้ดำเนินงานสามารถวัดการใช้น้ำและระบุหาเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยลดการใช้น้ำให้ได้มาก
- ของเสีย ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ ต้องวัดและบริหารจัดการเรื่องของเสียที่ส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของดาต้าเซ็นเตอร์ อีกทั้งนำแนวทางปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ เพื่อลดของเสียทั่วซัพพลายเชน
- พื้นที่และความหลากหลายทางชีวภาพ การสร้างและดำเนินการดาต้าเซ็นเตอร์ สามารถส่งผลกระทบต่อดิน น้ำ และอากาศ อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์จึงควรวัดผลกระทบเหล่านี้ เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อยู่รอบๆ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการพึ่งพากันอยู่
ติดตามความคืบหน้าด้วยระบบให้คะแนนที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
นอกจากความกดดันจากลูกค้าและนักลงทุนแล้ว อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ยังต้องตอบสนองต่อกฎระเบียบข้อบังคับที่ต้องปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพด้านความยั่งยืน โดย Title 24 ของแคลิฟอร์เนีย ได้กำหนดมาตรฐานต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพด้านพลังงานทั้งอาคารใหม่และอาคารปัจจุบัน ในขณะที่ Green Building Masterplan ของสิงคโปร์ ได้กำหนดเป้าหมายว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการพัฒนาใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2030 จะต้องเป็น Super Low Energy (SLE) ในสหภาพยุโรป ‘Fit for 55‘ รวมเรื่องกฏระเบียบใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นการลดคาร์บอนในภาคอาคาร บริษัทต่างๆ ที่นำนวัตกรรมใหม่มาใช้ รวมถึงผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องมีตัวชี้วัดเพิ่มเพื่อวัดว่าอาคารของตนดำเนินการได้สอดคล้องตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเหล่านี้อย่างไรบ้าง
ยังมีกรอบการทำงานอีกหลายอย่าง นอกจากกรอบการทำงานที่ชไนเดอร์ได้เผยแพร่ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ให้ความสามารถในการมองเห็น ตั้งแต่โค้ด LEED และ BREEAM ตลอดจน Greenhouse Gas Protocol และเมื่ออุตสาหกรรมมุ่งไปสู่มาตรฐานต่างๆ สำหรับตัวชี้วัดเหล่านี้ รวมถึงวิธีการวัดผล เราจะพัฒนาภาษากลาง (common language) เพื่อใช้งานร่วมกัน โดยผู้ประกอบการรายใดก็ตาม สามารถประเมินความคืบหน้าพร้อมทั้งเปรียบเทียบกับรายอื่นๆ ในอุตสาหกรรมได้
ปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น
ทุกประเทศในโลกต่างกำลังมุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืน และกำหนดเป้าหมายอันสูงส่ง พร้อมกับนำกฎระเบียบและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ นอกจากนี้ หลายบริษัทกำลังเดินหน้าไปตามเส้นทางดังกล่าว และลูกค้าต่างเรียกร้องให้ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์สาธิตถึงความยั่งยืน นอกจากเพื่อดึงดูดลูกค้าแล้ว การปรับปรุงประสิทธิภาพความยั่งยืนจะให้ผลลัพธ์เรื่องการลดค่าใช้จ่ายและให้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้านอื่นๆ สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ มีโอกาสที่จะดำเนินการได้รวดเร็วเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งจะให้ประโยชน์เรื่องของกำไร และประโยชน์ต่อชุมชนทั่วโลก รวมถึงความปลอดภัยของโลก ฉะนั้นการรู้ว่าจะวัดผลเรื่องอะไรคือขั้นตอนแรก