EV Car Fevers ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทยกำลังไต่ถัง รออีกนิดผู้เล่นกำลังมา

EV Car Fevers จะพูดแบบนั้นก็คงไม่ผิด เพราะสรุปสิ้นปีที่ผ่านมายอดการจดทะเลียนเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่ม 500% หมดยุคคำถามคุมกำเนิดเสียที
Share

ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวเกิน 500% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว แค่สองเดือนของปี 2023 พบยอดจดใหม่ใกล้หมื่นคัน ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ผลบุญ Tesla ส่งมอบล๊อตแรกและ BYD Atto3 จับตาผู้เล่นหน้าใหม่เข้าตั้งโรงงานเมืองไทย

 

Darren Woods ซีอีโอบริษัทน้ำมัน ExxonMobil เคยให้สัมภาษณ์กับทาง David Faber ผู้ดำเนินรายการของสถานี CNBC เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2565 ไว้ว่า “ภายในปี 2040 รถยนต์ทุกคันที่ขายบนโลกนี้จะกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า” หลายคนในวงการยานยนต์อาจจะไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ แต่สำหรับบางตลาดมันก็อาจจะเป็นไปได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศยุโรปโดยเฉพาะ สแกนดีเนเวีย ที่วันนี้ยอดขายส่วนใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าเทียบรถยนต์น้ำมัน ฝ่ายหลังกำลังทดถอยอย่างรุนแรง

กลับมาดูในประเทศไทย ต้องบอกว่าไม่มีอะไรมาเทียบได้อีกต่อไปในเชิงของผลกระทบเชิงนโยบายของภาครับที่มีต่อประชาชน เพราะว่าก็ต้องยอมรับตรงๆ ว่านโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าโดยรัฐบาลลุงตู่ ทำเอายอดจดทะเบียนของรถไฟฟ้าโตแบบกระฉุด

ถึงแม้ว่าตัวเลขนี้จะพุ่งแรงเอาตอนช่วงไตรมาสหลังก็ตาม แต่ถ้าไปเทียบกับนโยบายรถคันแรกในช่วงปี 2561 นั้นถือว่าสร้างภาระต่ออุตสาหกรรมรถยนต์จนซ๊อตกันไป 3 ปีเต็มๆ เลยทีเดียว ด้วยการสร้างดีมานด์เทียมมียอดขายครั้งเดียวแล้วทำให้การซื้อขายที่ควรเป็นปกติหยุดชะงักไป

ปัจจัยส่งเสริม ทำให้เกิด EV Car Fevers 500%++

นโยบายภาครัฐตัวกระตุ้นสำคัญของตลาดรถยนต์ BEV ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐที่ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีที่นำเข้าจากต่างประเทศมาขายระหว่างปี 2565-2566 โดยค่ายรถที่เข้าร่วมโครงการต้องผลิตชดเชยให้เท่ากับจำนวนรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้ามาทั้งคัน (CBU) ในปี 2565-2568

นโยบายนี้กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ค่ายรถโดยเฉพาะจากประเทศจีน ได้เข้ามาร่วมโครงการและลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย และทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าคึกคักขึ้นเป็นอย่างมาก ข้อมูลจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติให้การส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท รวมทั้งสิ้น 26 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) รวม 80,208 ล้านบาท (เฉพาะรถยนต์ BEV 27,745 ล้านบาท) จำนวนกำลังการผลิตยานยนต์ที่ได้รับอนุมัติเป็นจำนวน 838,775 คัน (เฉพาะรถยนต์ BEV 256,220 คัน)

นอกจากนี้ กรมสรรพสามิต ได้ลงนามข้อตกลงตามมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าระหว่างกรมสรรพสามิตกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ายานยนต์ไฟฟ้า แล้วรวม 10 ราย และล่าสุด ครม. ยังได้อนุมัติลดค่าภาษีรถยนต์ BEV ลง 80% สำหรับรถที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 9 พ.ย.2565 – 8 พ.ย.2568 เป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้รถยนต์ BEV ลงไปได้อีก

EV Ecosystem เต็มบ้านเต็มเมือง

คำถามสำคัญของคนที่ไม่ชายตามองรถยนต์ EV คือ Ecosystems หรือเอาง่ายๆ คือหาจุดเติมไฟที่ไหนให้สะดวก อย่างน้อยก็ไม่สะดวกเหมือนเติมน้ำมันแน่นอน เพราะหาที่ไหนก็ได้

Ecosystem ของรถยนต์ BEV พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการเพิ่มสัดส่วนของรถยนต์ BEV ในตลาด ทั้งทางด้าน 1) ระยะทางที่วิ่งได้ไกลขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต 2) แนวโน้มสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้ง 3) เทคโนโลยีหัวจ่ายไฟฟ้าที่ใช้ระยะเวลาการชาร์จต่อครั้งสั้นลง ปัจจัยเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านจาก “รถยนต์สันดาปภายใน” สู่ “รถยนต์ BEV” บนท้องถนนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ระยะทางการขับขี่ที่ไกลขึ้นเป็นปัจจัยที่ช่วยให้คนตัดสินใจปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ BEV กันมากขึ้น โดยข้อมูลจาก International Energy Agency (IEA) ระบุว่ารถยนต์ BEV มีระยะทางขับขี่โดยเฉลี่ยต่อการชาร์จ 1 ครั้งเพิ่มขึ้นจาก 243 กิโลเมตร ขึ้นมาอยู่ที่ 349 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้นกว่า 44% แนวโน้มด้านระยะทางของรถยนต์ BEV ที่สามารถวิ่งได้ไกลขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป็นปัจจัยทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อรถประเภทนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากในอดีตรถยนต์ BEV รุ่นเก่ายังไม่สามารถเก็บไฟฟ้าได้มากนัก ส่งผลให้ระยะทางการวิ่งของรถยนต์ BEV เมื่อชาร์จเต็มที่ในช่วงก่อนหน้ายังไม่มากเท่ากับรถยนต์สันดาปภายใน เป็นหนึ่งในข้อจำกัดของการตัดสินใจเลือกใช้

เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนกังวลเรื่องการเดินทางระยะไกล แต่ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ BEV ถูกพัฒนาให้สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นและใช้งานได้ทนทานขึ้น ช่วยลดข้อจำกัดการเดินทางระยะไกล และตอบโจทย์ผู้ใช้รถยนต์ BEV มากขึ้น

 

เรื่องนี้ยังไม่จบ สัปดาห์หน้า เรามาอ่านอีกส่วนที่เหลือให้จบ ว่าอะไรทำให้ในประเทศไทยถึงได้กระตุ้นการเป็นเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้า จนเข้าขั้น EV Car Fevers กันทั้งประเทศ หากว่าหลังที่อ่านที่มาที่ไปครบแล้วคุณเป็นอีกคนที่อยากเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า นั่นมันก็แปลว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่กระแสลมที่พัดมาแล้วผ่านหูไปเฉยๆ

 

Remark:

ยอดส่งมอบและจดทะเบียน ตั้งแต่เดือน มกราคม – มีนาคม 2566 มีข้อสังเกตว่าเกิดจากการส่งมอบรถของสองแบรนด์เป็นหลัก ได้แก่ BYD ที่ได้ทำการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า Atto3 ในล๊อตที่สอง หลังจากการเปิดตัวพร้อมปล่อยรถล๊อตแรกทั้งหมด 5,000 คันโดยประมาณหมดประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการเปิดตัวและเปิดจองและรับรถอย่างเป็นทางการ

และที่จะไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้คือ การเปิดส่งมอบรถล๊อตแรกของแบรนด์ระดับโลกของ Tesla โดยที่มีโควต้าล๊อตแรกสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 7,000 คัน โดยคิวแรกๆ ที่มีการนัดส่งมอบรถเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์

และการที่สามารถนับยอดการส่งมอบของ Tesla ได้ทันการสำรวจการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ก็เพราะ ทางบริษัทเลือกแนวทางใหม่สำหรับบ้านเราเลยก็คือทำการจดทะเบียนให้ก่อนส่งมอบ ถือว่าผิดแลปกจากธรรมเนียมปฏิบัติของการซื้อรถใหม่ในประเทศไทย

 

และสำหรับท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบและติดตามข่าวสาร ยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก สามารถอ่านเรื่องราวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี่

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles