เมื่อโลกหลายใบกลับใช้ได้กับโลกของ Metaverse

เมื่อ Multiverse กลับใช้งานจริงได้ดี บนโลกเสมือนอย่าง Metaverse
Share

 

เมื่อ Multiverse กลับใช้งานจริงได้ดี บนโลกเสมือนอย่าง Metaverse

 

หลายบริษัทกำลังมองหาวิธีการทำให้พนักงานทำงานได้มากที่สุด ซึ่งการเฝ้าติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด อาจดูเหมือนว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่ก็ไม่เชิงซะทีเดียว บางทีการนำ Metaverse มาใช้ในเรื่องนี้น่าจะไม่เลว

จริงๆ แล้ว Metaverse ก็จะคล้ายกับเทคโนโลยีรุ่นใหม่หลายตัว ในแง่ของการถูกนำไปใช้ด้วยความเข้าใจผิด แต่ก็มีความน่าสนใจในส่วนของเนื้อหาสาระของตัวมันเอง และมีการนำไปใช้งานได้สำเร็จ (ในวงกว้าง) ในเรื่องของการจำลองเพื่อสร้างวัตถุเสมือนจริงร่วมกัน (เช่นสถาปนิกที่สร้างสิ่งปลูกสร้างเสมือนจริง) ไปจนถึงการทดสอบขั้นสูงสำหรับหุ่นยนต์และยานพาหนะด้วยระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ

และมีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เนื่องจากระบบจำลองสามารถช่วยแก้ปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวของพนักงานได้ ในเวลาที่ต้องตรวจสอบการทำงานของพนักงาน นอกจากนี้ ประโยชน์เพิ่มเติมที่องค์กรจะได้รับ คือการทำให้ระบบทำงานโดยอัตโนมัติ โดยในบางครั้งระบบยังสามารถทำงานบางอย่างแทนพนักงานได้เช่นกัน

คำถามก็คือ แล้วจะนำเทคโนโลยี Metaverse ไปใช้งานจริง เพื่อเปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้อย่างไร

อันดับแรก คุณภาพต้องมาก่อนปริมาณ

เมื่อก่อนหลายคนมักเชื่อว่า ว่าการทำงาน 16 ชั่วโมงต่อวัน เจ็ดวันต่อสัปดาห์ เป็นวิธีเดียวที่จะบอกว่าคุณได้ทำงานอย่างเต็มที่ให้กับเจ้านายหรือบริษัท แต่ในความเป็นจริง แม้จะทำงานหนักขนาดไหนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนสามารถทำทุกงานได้สำเร็จลุล่วง และเชื่อว่าทุกคนอาจจะเคยบ่นว่า เหนื่อยเหลือเกินกับการทำงานหนัก จนทำให้พลาดอะไรหลายอย่างไป แต่ทุกวันนี้มีหลายคนที่เริ่มเล็งเห็นว่า การนำเอาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันบางตัวมาใช้ ช่วยให้ใช้เวลาในการทำงานน้อยลงในขณะที่ได้ผลลัพธ์มากกว่า และยังทำให้เราสามารถตรวจสอบงานด้วยวิธีที่ฉลาดมากขึ้น โดยเน้นที่คุณภาพของงาน มากกว่าปริมาณงานที่ทำเสร็จ เรียกได้ว่าช่วยให้งานทุกงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักเรียก Metaverse ว่าเป็น “โลกจำลอง” และเมื่อนำมาเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลจริง เช่น ชุดข้อมูลที่สร้างบนระบบที่มีความปลอดภัย ก็จะสามารถจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้นมาได้ใกล้เคียงกับของจริง โดยมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบและแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่จำลองได้ก่อนที่จะแสดงผล ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าการจำลองสภาพแวดล้อมมักทำงานควบคู่กับระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่สามารถคาดการณ์การทำงานของพนักงาน และช่วยให้องค์กรได้ทดลองนำนโยบายมาบังคับใช้กับการทำงานของพนักงานผ่านระบบเสมือนได้ก่อน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของพนักงานจริง

การรวบรวมข้อมูลทั้งหมด (แทนที่จะเป็นเฉพาะรายบุคคล) น่าจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจว่าพนักงานใช้เวลากับงานที่ต้องทำในแต่ละช่วงได้มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับนโยบายที่องค์กรกำหนด โดยช่วยให้ผู้จัดการอาวุโสสามารถจำลองการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้

ข้อผิดพลาดในการแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นคือ กรณีของ Intel สมัยที่ Andy Grove ดำรงตำแหน่ง CEO  ในตอนนั้นมีผู้บริหารระดับสูงหลายคนรู้สึกกังวลว่ามีพนักงานจำนวนมากมาทำงานสายและออกก่อนเวลา ดังนั้นจึงมีการนำกฏข้อบังคับพื้นฐานสำหรับการเข้างานในแบบเดิมๆ มาใช้ โดยให้ผู้จัดการและผู้บริหารลงเวลาที่พนักงานเข้างานและเลิกงาน โดยบังคับให้ทำงานครบ 8 ชั่วโมง ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ แทนที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กลับกลายเป็นการลดทอนประสิทธิภาพลงไปอีก เพราะพนักงานที่ไม่ค่อยขยันอยู่แล้ว ก็จะฉวยโอกาสอู้งานระหว่างช่วงเวลา 8 ชั่วโมงนั้น ส่วนคนที่ปกติทำงานเกินเวลาอยู่แล้ว ก็กลายเป็นว่าต้องทำงานตามข้อกำหนดเวลาที่ 8 ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่าที่เคยทำตามปกติ จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

ซึ่งถ้าหาก Intel สามารถสร้างแบบจำลองของนโยบายใหม่นี้ได้ก่อนที่จะนำมาบังคับใช้ ก็จะช่วยเรื่องนี้ได้ และนี่คือสิ่งที่ Metaverse สามารถช่วยได้ โดยช่วยให้บริษัทหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่ชัดเจนและสร้างความเจ็บช้ำใจในการแก้ปัญหาผิดวิธีได้

อีกแนวคิดที่นำมาใช้แล้วไม่ได้ให้ผลดีเท่าไหร่ก็คือ แนวคิดการทำออฟฟิศแบบเปิด ที่ไม่มีการกั้นพื้นที่ส่วนตัวในการทำงาน โดยเปิดโล่งเป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับใช้ร่วมกัน หรือทำเป็นพื้นที่ให้นั่งทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อดึงดูดใจคนทำงานมากขึ้น ซึ่งในทางปฏิบัติจริง แนวทางนี้ค่อนข้างรบกวนการทำงาน เพราะไม่มีความเป็นส่วนตัวและการอยู่กันหมู่มากมักก่อให้เกิดเสียงดังกวนสมาธิในการทำงาน โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด พื้นที่ทำงานร่วมกันที่มีความแออัดอาจทำให้เป็นปัญหามากขึ้น

ในการจำลองแนวคิดแบบนี้ เราสามารถทำการเพิ่มจำนวนของพนักงานในระบบเสมือนเข้าไปมากๆ ได้ จนทำให้เริ่มมองเห็นปัญหาและข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการมองเห็นปัญหา ก็จะช่วยให้องค์กรสามารถดูแลพนักงานได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการทดสอบบนแบบจำลองก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือนโยบายที่ดีที่สุด อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจทำให้เกิดต้นทุนสูง เช่นการลงทุนปรับปรุงออฟฟิศใหม่ ในขณะที่ได้ผลลัพธ์ตรงข้ามกับที่มุ่งหวังไว้

เมื่อ Multiverse กลับใช้งานจริงได้ดี บนโลกเสมือนอย่าง Metaverse

จากแบบจำลองสู่การใช้งานจริง

Metaverse สามารถนำเสนอการใช้งานที่หลากหลาย โดยพิจารณาจากแบบจำลอง และในการสร้างสำนักงานและพนักงานดิจิทัลบนระบบคู่ขนาน ก็จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถทำการทดสอบทฤษฎีในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานได้ก่อนที่นำมาใช้จริง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพ ในขณะที่ไม่ได้เป็นการล่วงละเมิดพนักงาน

ความคาดหวังของหลายคนก็คือ metaverse จะกลายเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนบริษัทให้เป็นสถานที่ทำงานที่ดีขึ้น ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความภักดีของพนักงาน รวมถึงช่วยให้พนักงานมีความพึงพอใจกับงานที่ทำ แต่ต้องทำให้ถูกวิธี ซึ่งหมายความว่า ควรใช้ metaverse ในการทดสอบทฤษฎีการจ้างงานใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์สองประการ คือการปรับปรุงผลลัพธ์ของงาน และสร้างความพึงพอใจในงาน

การรับประกันผลลัพธ์ในเชิงบวกสำหรับทั้งพนักงานและบริษัทได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการใดก็ตามๆ ก็จะช่วยให้มั่นใจได้ถึงผลลัพธ์ที่ดี  และท้ายที่สุด เรายังอาจได้เรียนรู้ถึงการแยกแยะความแตกต่างระหว่างการใช้แนวทางการกระตุ้นที่ดีและไม่ดี รวมถึงการได้ผลลัพธ์ที่ดีโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานในทางลบ ซึ่งนับเป็นสิ่งที่คุ้มค่าสำหรับความพยายาม

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles