บริษัท ออสเตรเลีย เปิดตัว “โครงกระดูกเทียม” ครั้งแรกในโลก

โครงกระดูกเทียม
Share

 

“โครงกระดูกเทียม” ครั้งแรกในโลก

 

Anatomics Pty Ltd ผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ล้ำสมัยจากประเทศออสเตรเลีย ประกาศความสำเร็จในการนำเนื้อเยื่อที่ทำจากวัสดุโพลีเมอร์อย่าง StarPore ไปใช้ในการผ่าตัดตกแต่งบริเวณช่องอกเป็นครั้งแรกของโลกที่ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ โปรตุเกส และนิวซีแลนด์

ผู้ป่วยกว่า 20 รายจากทั่วโลกกำลังใช้ชีวิตโดยได้รับการปลูกถ่ายโครงกระดูกใหม่ ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้วัสดุอันล้ำสมัยที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทสัญชาติออสเตรเลียอย่าง Anatomics Pty Ltd.

StarPore® เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น และมีรูพรุน ส่งผลให้เซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายเติบโตในวัสดุนี้ได้ ต่างจากวัสดุปลูกฝังที่ใช้กันทั่วไปซึ่งซึมผ่านไม่ได้

ศาสตราจารย์ Paul D’Urso ผู้ก่อตั้ง Anatomics กล่าวว่า “วัสดุดังกล่าวถูกหยิบไปใช้เป็นครั้งแรกของโลกในการปลูกถ่ายโครงกระดูกเทียม ซึ่งได้เข้ามาพลิกโฉมแนวทางผ่าตัดเปลี่ยนและซ่อมแซมโครงกระดูกมนุษย์ที่ได้รับความเสียหายจากแผลบาดเจ็บ เนื้องอก หรือการติดเชื้อ”

แต่เดิมนั้น ศัลยแพทย์ใช้ซีเมนต์กระดูกและลวดในการสร้างโครงกระดูกขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่บนเตียงผ่าตัด

“StarPore มีความพิเศษเพราะ ‘มีชีวิต’ ได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยเซลล์ของตัวผู้ป่วยเองจะเติบโตในโครงข่ายรูพรุนที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น นอกจากนี้ StarPore ยังไม่ปรากฏให้เห็นในภาพเอ็กซ์เรย์และสภาพสแกน ทำให้แพทย์ติดตามอาการของผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้อย่างง่ายดาย” ศาสตราจารย์ D’Urso กล่าว

ดร. Ahneez Ahmed (หัวหน้าศัลยแพทย์ทรวงอก โรงพยาบาล Tan Tock Seng Hospital ประเทศสิงคโปร์) กล่าวหลังใส่โครงกระดูกเทียม StarPore 2 ชุดแรกว่า โครงกระดูกเทียมนี้ “จะคงอยู่ตลอดช่วงชีวิตของผู้ป่วยโดยยังคงรูปเดิมและมีเนื้อเยื่อเกาะอยู่ตามธรรมชาติ วัสดุนี้ช่วยสร้างโครงข่ายที่เปิดโอกาสให้เนื้อเยื่อมนุษย์เกาะและเติบโต เพราะมีความพรุนและโปร่งตามลักษณะทางชีววิทยาที่คล้ายคลึงกับของมนุษย์”

ศ. Shanda Blackmon (ศัลยแพทย์ทรวงอก ประจำศูนย์ Mayo Clinic สหรัฐอเมริกา) กล่าวสรุปว่า “StarPore มีจุดแข็งมากมาย ทั้งความยืดหยุ่น การคงอยู่กับที่ ความสามารถในการห่อหุ้มกระดูกซี่โครง ดีไซน์สามมิติที่ปรับแต่งได้ ความง่ายในการเจาะโพรงเพื่อยึดเอ็นเทียม การใช้มีดผ่าตัดกำหนดรูปทรงตามที่ต้องการระหว่างผ่าตัด ความสามารถในการนำไปแช่ในสารต้านแบคทีเรีย และศักยภาพในการผ่าตัดเพิ่มเลือด”

ดร. Michael Harden (ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาล Royal North Shore Hospital ประเทศออสเตรเลีย) กล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า วัสดุเทียม StarPore เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยทำในสิ่งที่เรามองเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ ก้มหยิบของ หรือสูดหายใจเข้าลึก ๆ”

Anatomics เป็นผู้บุกเบิกการผ่าตัดฟื้นฟูโครงกระดูก โดยได้คิดค้นโครงกระดูกพิมพ์สามมิติเป็นครั้งแรกของโลกซึ่งนำไปใช้กับผู้ป่วยชาวสเปนรายหนึ่งเมื่อปี 2557 นับตั้งแต่นั้น บริษัทก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น จนนำไปสู่การใส่โครงกระดูกเทียม StarPore ชุดแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ประเทศสิงคโปร์ นับจนถึงวันนี้ มีผู้นำโครงกระดูกเทียม StarPore ไปใช้กับผู้ป่วยแล้ว 24 รายในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร

ศาสตราจารย์ D’Urso กล่าวว่า Anatomics StarPore ได้กลายเป็นมาตรฐานการดูแลในการผ่าตัดฟื้นฟูช่องอก ซึ่งจะก่อให้เกิดแพลตฟอร์มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการวิจัยและพัฒนาในสาขาระบบหัวใจและปอด ในอนาคต โครงกระดูกเทียม StarPore อาจก้าวล้ำจนรองรับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวได้ นำไปรักษาอาการต่าง ๆ ได้มากขึ้น และอาจรองรับการสื่อสารได้ด้วย”

สามารถศึกษารายละเอียดของเทคโนโลยีได้จากวีดีโอนี้

 

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles