AISxCCIB ปลุกกระแสละครสะท้อนสังคม เปลี่ยนคดีดัง สู่ ละครคุณธรรม 12 เรื่องสุดเข้มข้น กระตุกคนไทยรู้ทันภัยไซเบอร์

AISxCCIB ร่วมกันเพื่อเพิ่ภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้คนไทย ดึง 3 โปรดักชันเฮาส์ละครโซเชี่ยล 3 ค่ายดัง สร้างซีรียส์เตือนภัยเริ่มที่กลุ่มผู้สูงอายุ
Share

 

AIS อุ่นใจ CYBER ปลุกกระแสละครสะท้อนสังคม ดึง ตำรวจไซเบอร์ พร้อม 3 ค่ายละครโซเชียล ตีแผ่คดีดัง สู่ ละครคุณธรรม 12 เรื่องสุดเข้มข้น กระตุกคนไทยรู้ทันภัยไซเบอร์

 

AIS อุ่นใจ CYBER เดินหน้าภารกิจสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทย ผ่านการพัฒนาเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีและบริการดิจิทัล ควบคู่ไปกับสร้างองค์ความรู้ ปลูกจิตสำนึก ส่งเสริมทักษะดิจิทัล ด้วยการใช้วิธีการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์กับผู้คนในแต่ละกลุ่ม ล่าสุดได้ทำงานร่วมกับตำรวจไซเบอร์ พร้อม ค่ายละครโซเชียล 3 ค่ายดัง กุลิฟิล์ม ทีแก๊งค์ และทีมสร้างฝัน ส่ง 12 ละครคุณธรรม จากคดีดังภัยไซเบอร์ ร่วมตีแผ่กลลวงของมิจฉาชีพ พร้อมแนะวิธีการรับมือ ในรูปแบบละครสะท้อนสังคมที่กำลังได้รับความนิยม สนุกเข้าใจง่ายและสามารถเข้าถึงคนไทยในทุกช่วงวัย

 

AISxCCIB เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันไซเบอร์ เริ่มที่กลุ่มเปราะบางสูงอายุก่อน

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AISนางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “จากการทำงานเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลภายใต้ภารกิจของ AIS อุ่นใจ CYBER ทำให้เราเห็นถึงปัญหาจากภัยไซเบอร์ที่ยังมีผู้ไม่รู้เท่าทันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) พบว่ากลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์สูงสุด ซึ่งนอกเหนือจากความตั้งใจในการส่งเสริมทักษะการใช้งานดิจิทัลด้วยเครื่องมือต่างๆ รวมถึงหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์แล้ว เรายังไม่หยุดที่จะคิดค้นและมองหาวิธีการสื่อสารใหม่ๆ เพื่อทำให้คนไทยมีทักษะดิจิทัล เข้าใจ รู้เท่าทันทุกภัยไซเบอร์

จึงเป็นที่มาของแคมเปญสื่อสารในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีที่เราร่วมมือกับ ตำรวจไซเบอร์ และ 3 ค่ายละครโซเชียล นำคดีจากภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจริง อาทิ หลอกติดตั้งแอปดูดเงิน, หลอกลงทุน, ซื้อของจากร้านค้าปลอม, ใช้ภาพโปรไฟล์คนอื่นและสวมรอยเพื่อหลอกยืมเงิน มาถ่ายทอดในรูปแบบของละครคุณธรรม หรือละครสั้นสะท้อนสังคม ที่วันนี้ได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนสูงวัย ด้วยวิธีการเล่าแบบตรงไปตรงมา สนุก สอดแทรกสาระและวิธีการรับมือจากพี่ๆ ตำรวจไซเบอร์ ที่มาร่วมเป็นนักแสดงในละครคุณธรรมทั้ง 12 ตอน 12 สถานการณ์ อีกด้วย

นอกเหนือจากย้ำเตือนสังคมผ่านการสื่อสารและสร้างการตระหนักรู้อย่างต่อเนื่องแล้ว เรายังพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์อย่างสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center ให้ลูกค้าแจ้งข้อมูลเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพได้ฟรี รวมถึงการมีหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่จะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ และสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทย”

พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.)พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเราต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพมีการออกกลโกงในรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และถูกหลอกให้เสียทรัพย์ได้ในที่สุด แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ ไม่ใช่แค่ในมิติเรื่องของการปราบปรามอย่างเดียว เราต้องให้ความสำคัญในเชิงป้องกัน ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้องในการใช้งานบนโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย ซึ่งการทำงานกับ AIS อย่างต่อเนื่องในการออกมาเตือนภัยประชาชนในรูปแบบต่างๆ ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุอย่างแท้จริง

เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับ AIS อีกครั้งในการสื่อสาร เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนผ่านรูปแบบของละครคุณธรรม เพื่อให้ประชาชนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาให้รูปแบบต่างๆ  นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถปรึกษา แจ้งเบาะแส ขอความช่วยเหลือด้านภัยไซเบอร์ได้ที่สายด่วน 1141”

สามารถติดตามชมละครคุณธรรม ทั้ง 12 ตอน ซึ่งสอดแทรกการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพพร้อมวิธีการรับมือ ได้ผ่านช่องทาง Social Media ของทั้ง 3 ค่ายละครคุณธรรม และช่องทาง LearnDi ได้ที่   https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/learning-path/105/

#AISxCCIBxละครคุณธรรม #AISอุ่นใจCYBER #มีความรู้ก็อยู่รอด

AISxCCIB ละครคุณธรรม

 

คดีจากภัยไซเบอร์ตัวอย่างที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครคุณธรรม

  1. การหลอกลวงซื้อสินค้าออนไลน์แต่ไม่ได้สินค้า

คนร้าย สร้างเพจปลอม ให้มีความเหมือนหรือใกล้เคียงกันกับเพจจริง แล้วนำสินค้า ผลิตภัณฑ์/บริการจากเพจจริงมาโพสต์ขาย โดยคัดลอก content รูปภาพ รวมถึงราคาสินค้า/บริการมาโพสต์ในเพจปลอมที่ตนเองสร้างขึ้น หลอกล่อให้ลูกค้าหรือผู้เสียหายหลงเชื่อและซื้อสินค้า/บริการ โดยให้ลูกค้าหรือผู้เสียหายโอนเงินไปยังบัญชีรับประโยชน์ของคนอื่น(บัญชีม้า) อ้างว่าเป็นบัญชีของทีมบริหาร  กลุ่มผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้โอนเงินไปยังบัญชีดังกล่าว หลังจากนั้น ก็ไม่สามารถติดต่อเพจได้อีก สินค้าที่สั่งซื้อไว้ ไม่ส่งตามตกลง บริการที่ได้ซื้อไว้ ไม่ได้ตามตกลง และบล็อกช่องทางการติดต่อทุกทาง

  1. หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม

คนร้ายโทรมาหลอกลวงผู้เสียหายว่าโทรมา

  • จากกระทรวงการคลังเพื่อทำการยกเลิกโครงการคนละครึ่ง
  • จากกรมที่ดินเพื่อให้จ่ายภาษีที่ดิน แต่ยกเลิกค่าภาษีได้ ถ้าทำตามขั้นตอน
  • จากการไฟฟ้าเพื่อขอคืนเงินค่าประกันราคามิเตอร์ไฟฟ้า

โดยสอบถามชื่อสกุล รวมไปถึง รุ่นยี่ห้อของโทรศัพท์ที่ผู้เสียหายใช้งาน เมื่อแน่ใจว่าโทรศัพท์ของผู้เสียหายเป็นระบบปฏิบัติการ Android แล้วจึงเริ่มดำเนินการให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนไลน์ หรือขอแอดไลน์ผู้เสียหาย แล้วหลอกลวงให้ผู้เสียหายคลิกลิงก์ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของหน่วยงานดังกล่าว ซึ่งเป็นเว็บไซต์ปลอม แล้วให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นปลอม อ้างว่าให้ยื่นคำร้องผ่านแอปพลิเคชั่น เมื่อผู้เสียหายได้กดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นดังกล่าวแล้ว เครื่องโทรศัพท์จะโชว์การล็อกหน้าจอ เพื่อให้ผู้เสียหายกดปลดล็อกหน้าจอ จากนั้นคนร้ายจะให้ผู้สียหาย กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ รวมไปถึง ให้ตั้งค่ารหัส PIN เพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่น จากนั้นเครื่องจะถูกล็อกหน้าจอ แล้วให้ผู้เสียหายกดปลดล็อกหน้าจอเพื่อดำเนินการต่อ ถึงขั้นตอนนี้ คนร้ายก็ได้หลอก phising เอาข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงรหัส PIN ของผู้เสียหายไปเพื่อโอนเงินออกจากแอปพลิเคชั่นของธนาคาร ในเครื่องโทรศัพท์ของผู้เสียหายเอง”

  1. หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์

มิจจาชีพมีรูปโฆษณาในเพจเฟชบุ๊คเพื่อชักชวนให้ลงทุนกับกองทุนอมตะ โดยมีภาพคุณวิกรม กรมดิษฐ์ ทำให้ดูน่าเชื่อถือและหลงเชื่อว่ามีผลตอบแทนที่ดี จึงติดต่อทักทายไปยังแอดมินที่เฟสบุ๊ก และมีการแอดเป็นเพื่อนใน Line พูดคุย เชิญชวนให้เปิดพอร์ตแบบระยะสั้น ให้ทำการโอนเงินครั้งแรกจำนวนน้อยๆก่อน คือ 2,220 บาท ต้องเทรดทั้งหมดจำนวน 9 รอบ ในแต่ละรอบก็ให้โอนเงินเติมเข้าพอร์ตการลงทุนจากหลักพันบาทในครั้งแรก และค่อยๆให้โอนเพิ่มเติมไปยังหลักแสนบาท โดยจะแสดงผลกำไรและแจ้งกลับมาให้เราดีใจ ตื่นเต้น หลงเชื่อ พอครบการเทรด  9 รอบ ผู้เสียหายขอปิดบัญชีเพื่อดึงเงินกลับ มิจฉาชีพก็แจ้งว่าต้องเสียค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆเป็นเงินหลักแสนอีก ผู้เสียหายไม่ยอมโอนเงินแล้ว กลุ่มคนร้ายก็ขาดการติดต่อไปโดยการบล็อกทุกช่องทางการติดต่อยอม่โอนเงินแล้ว กลุ่มคนร้ายก็ขาดการติดต่อไปโดยการบล๊อกทุกช่องทางการติดต่อ

  1. คดีปลอมโปรไฟล์เพื่อหลอกยืมเงิน

โทรมาอ้างว่าเป็นคนรู้จัก หลอกให้ทายชื่อ ให้เราเผลอพูดชื่อคนรู้จักไป แล้วสวมรอยเป็นคนนั้น บอกว่าโทรศัพท์หายเปลี่ยนเบอร์ใหม่ ให้เมมชื่อไว้ หลังจากนั้นโทรมาวันหลังขอยืมเงิน

  1. คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน

ผู้เสียหายได้พบข้อมูล โฆษณา ผ่านแอปพลิเคชั่นเฟสบุ๊ก เกี่ยวกับแอฟพลิเคชั่นกู้เงินออนไลน์ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว จึงสนใจและได้ทักไปเพื่อขอข้อมูล กลุ่มคนร้ายได้ให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนไนไลน์ เพื่อสนทนากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ จากนั้น กลุ่มคนร้ายได้หลอกให้ผู้เสียหายกดลิงก์ เพื่อโหลดแอปพลิเคชั่น และสมัครใช้งาน โดยการทำขั้นตอนเพื่อยืนยันตัวตน เช่น ให้ส่งภาพใบหน้าพร้อมบัตรประชาชน ชื่อสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรฯ  เมื่อทำรายการในระบบของคนร้ายเสร็จสิ้น กลุ่มคนร้ายจะอ้างว่า ผู้เสียหาย กรอกข้อมูลบัญชีผิด หรือ กดหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนผิด ต้องทำการโอนเงินก่อนเพื่อปลดล็อกระบบ แล้วยอดเงินที่โอนจะคืนให้หลังจากอนุมัติสินเชื่อ จากนั้น ออกอุบาย เรื่อยๆ ว่า ผู้เสียหายโอนเงินช้า ปลดล็อกไม่ทันในเวลาที่กำหนด ผู้เสียหายถ่ายรูปไม่ชัด ระบบล็อก ต้องโอนเงินปลดล็อก แล้วแต่กรณี จนผู้เสียหายแน่ใจว่าตัวเองถูกหลอก จึงหยุดโอนเงิน

 

สำหรับผู้ที่สนใจข่าวสารของ AIS เพิ่มเติม สามารถเข้าอ่านได้ ที่นี่

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles