Pusan Model โซลูชันใหม่ เมื่อโลกกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างถาวร กลายเป็นเมืองบาดาล

Pusan Model แนวทางใหม่ในการรับมือกับภาวะโลกร้อนและน้ำแข็งขั้วโลก เป็นผลให้ระดับน้ำทะเลค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
Share

 

ภาพของธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกค่อยๆ กะเทาะหักเลื่อนไหลลงสู่ผืนน้ำ เป็นผลให้ระดับน้ำทะเลค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้ Pusan Model เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

 

คำกล่าวที่ว่าในอนาคตอันใกล้หมีขั้วโลกจะไม่มีที่อยู่ไม่ใช่เรื่องเกินจริง…

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2558 ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น 3.3 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศและนักสมุทรศาสตร์หลายคนเชื่อว่าสาเหตุที่น้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากน้ำแข็งที่ละลายในกรีนแลนด์

ภาวะโลกร้อน ตัวเร่งการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก

คาดการณ์ว่าในช่วงปี พ.ศ.2562-2643 ระดับน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกโดยเฉลี่ยอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 84 เซนติเมตร จึงมีการเตือนเมืองชายฝั่งทะเลจำนวนมากให้เร่งหาทางรับมือ

Splinters of ice peel off from the Perito Moreno glacier near the city of El Calafate in the Patagonian province of Santa Cruz, southern Argentina, on July 7, 2008.Andres Forza / Reuters file
Credit Picture : Splinters of ice peel off from the Perito Moreno glacier near the city of El Calafate in the Patagonian province of Santa Cruz, southern Argentina, on July 7, 2008.Andres Forza / Reuters file

ทั้งนี้ Climate Central กลุ่มวิจัยที่ไม่แสวงผลกำไร มีการวิจัยถึงผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศของโลก และทำแบบจำลองภาพ 184 สถานที่ในกว่า 50 เมืองบนชายฝั่งทั่วโลกที่อาจจะเกิดเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3 องศา และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นด้วย บางแห่งอาจจมหายไปเลย จำเป็นต้องควบคุมไม่ให้เกิน 1.5 องศา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ให้ได้ภายในปี 2573 และลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์ภายในปี 2593

Pusan Model ต้นแบบของการรับมือการเปลี่ยนแปลง

“ปูซาน” เมืองท่าขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้ เป็นหนึ่งในมหานครที่เสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล โดยในปี 2563 กลุ่มกรีนพีซ เกาหลีใต้ ได้ออกมาเตือน โดยเฉพาะเขตชายหาดแฮอุนแด (Haeundae Beach) ว่าเสี่ยงที่จะหายไปจากแผนที่โลกภายในปี 2573

ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะสำนักงานอุทกศาสตร์และสมุทรศาสตร์ เกาหลี รายงานตัวเลขของระดับน้ำทะเลริมฝั่งของประเทศในช่วงปี 2532-2564 ว่า สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 9.9 เมตร ส่วนทะเลตะวันออกซึ่งสัมพันธ์กับชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของหลายเมืองโดยเฉพาะปูซาน ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย

Credit Picture : OCEANIX Busan

UN HABITAT (United Nations Human Settlement Programme) หรือ โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น เกาหลีใต้ จัดตั้งโครงการ “โอเชียนิคส์” (Oceanix) แผนสำหรับการตั้งถิ่นฐานใหม่ในมหาสมุทร เป็นเมืองลอยน้ำต้นแบบแห่งแรกของโลก แก้ปัญหาภัยคุกคามจากน้ำทะเล ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ และยังทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องไร้ที่อยู่อาศัย

โครงการเมืองลอยน้ำโอเชียนิคซ์ เป็นความร่วมมือระหว่างทีมนักออกแบบ สถาปนิก และวิศวกรชั้นแนวหน้านานาชาติ โดยมีเป้าหมายในการสร้างเมืองที่ไม่มีวันจมน้ำ เริ่มดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเป็นโครงสร้างสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงงาน แล้วนำมาเชื่อมต่อด้วยกัน สามารถลอยขึ้นลงตามคลื่นทะเลได้ เชื่อมต่อชุมชนบนเนื้อที่เกือบ 40 ไร่ รองรับผู้อยู่อาศัย 12,000 คน และในทุกพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร จะสร้างอาคารที่รองรับผู้อยู่อาศัย 300 คน และอาจมีความสูงได้มากถึง 7 ชั้น คาดว่าจะสร้างเสร็จและอยู่อาศัยได้จริง ปี 2568

สิ่งน่าสนใจคือ ความที่เป็นโครงสร้างสำเร็จรูปเชื่อมต่อกัน จึงสามารถต่อขยายจากชุมชนขนาดย่อมๆ เป็นเมืองขนาดใหญ่ได้ไม่ยาก

นอกจากนี้ด้วยจุดเริ่มต้นของโอเชียนิคส์ที่รองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การนับหนึ่งของโมเดลเมืองแห่งอนาคตจึงไม่ได้มุ่งเพียงอยู่ได้ด้วยตนเอง ยังต้องดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย โดยจัดสรรพื้นที่เป็นโซน โซนที่อยู่อาศัย โซนสำหรับเพาะปลูกของชุมชน โซนปศุสัตว์ ฯลฯ รวมถึงออกแบบให้มีระบบผลิตน้ำจืด โรงบำบัดน้ำเสีย ต่างๆ นานา โดยทั้งหมดจะใช้พลังงานหมุนเวียนจากกังหันลมลอยน้ำและแผงโซลาร์ เพื่อจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน

เพราะแทนที่จะต่อสู้กับน้ำ ไมมูนาห์ โมห์ด ชาริฟ ผู้อำนวยการ UN-Habitat บอกว่า การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับน้ำเป็นสิ่งสำคัญกว่า.

 

สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจติดตาม บทความ และสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง และรูปแบบการใช้ชีวิต สามารถติดตามอ่านข่าวสารและบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่

rabbit2themoon

rabbit2themoon

คอลัมนิสต์หน้าไม่ใหม่ เคยพำนักอยู่ใต้ชายคามติชน ประจำกอง บก.นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ก่อนขยับมาเป็นผู้สื่อข่าวเซ็กชั่นประชาชื่น เขียนสัมภาษณ์บุคคล-สกู๊ปเชิงไลฟ์สไตล์-ท่องเที่ยว-อาหาร-จิปาถะ สถานะปัจจุบัน นอกจากเป็นคอลัมนิสต์ ยังเป็นนักเขียนอิสระ เขียนบทความเชิงประชาสัมพันธ์

Related Articles