เครือข่ายไฟเบอร์ออพติก Game Maker สำคัญของประโยชน์ที่ได้จากการเข้าสู่โลกดิจิทัล

Share

 

เชียงใหม่ กุหลาบแห่งภาคเหนือที่เบ่งบานด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยเครือข่ายไฟเบอร์ออพติกเชื่อมต่อโลกดิจิทัลและประโยชน์นานัปการให้แก่หมู่บ้านห่างไกลของจังหวัด

 

ข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เผยประชากรกว่าครึ่งโลกมีการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างจำกัด และส่วนใหญ่อีกกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและชนบท ไม่มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่บ้าน

ณ หุบเขาที่ห่างไกลแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งคนในพื้นที่รู้จักกันในนาม “กุหลาบแห่งภาคเหนือของประเทศไทย” ที่มีหลายหมู่บ้านห่างไกลอาศัยอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่ขาดการเชื่อมต่อนี้ รวมถึงหมู่บ้าน และโรงเรียนบ้านแม่โต๋ที่เด็กหญิงพรฟ้ากำลังศึกษาอยู่

ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีภูเขาล้อมรอบเหมือนกำแพงธรรมชาติ การเดินทางของหมู่บ้านเด็กสาวจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ปัญหาความยากจนและการที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่บ้าน พรฟ้าและเพื่อนๆ จึงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ยังต้องพึ่งพาเนื้อหาเก่าจากตำราเรียน การใช้คอมพิวเตอร์และท่องโลกอินเทอร์เน็ตจึงถือเป็นเรื่องไกลตัว

ถนนน้ำ

เส้นทางถนนบนภูเขาที่ทอดยาว 60 กิโลเมตร คือเส้นทางหลักสู่ตัวเมืองที่ใกล้ที่สุด แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศ การไม่มีระบบระบายน้ำ น้ำจึงท่วมทุกครั้งที่ฝนตก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “ถนนน้ำ” สภาพถนนนี้ไม่เพียงแต่ทำให้รถสัญจรไม่ได้ แต่ยังกั้นให้การศึกษากลายเป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียน และส่งผลให้ชุมชนไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้

เชียงใหม่ กุหลาบแห่งภาคเหนือที่เบ่งบานด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยเครือข่ายไฟเบอร์ออพติกเชื่อมต่อโลกดิจิทัลและประโยชน์นานัปการให้แก่หมู่บ้านห่างไกลของจังหวัด

ขันเป็นเพื่อนบ้านของพรฟ้า เขาเป็นโรคผิวหนังรุนแรง และสถานีอนามัยท้องถิ่นก็ขาดแคลนอุปกรณ์ เขาจึงต้องซ้อนรถมอเตอร์ไซค์เพื่อนเพื่อไปรักษาในเมืองที่ใกล้ที่สุด เขาใช้เวลาเดินทางทั้งวันซึ่งถือเป็นอุปสรรคมากสำหรับชาวสวนที่มีครอบครัวต้องเลี้ยงดู อิน ชาวบ้านอีกคนเล่าว่ารายได้ของชาวบ้านที่นี่น้อยมาก บ่อยครั้งที่เธอต้องนำสตรอว์เบอร์รี่จากบนเขาลงไปขายที่ตลาดข้างล่าง แต่เพราะคนซื้อรู้ว่าเธอต้องเดินทางมาไกลจึงมักกดราคาเพราะรู้ว่าถึงอย่างไรเธอก็ต้องยอมขายในราคาถูก ดีกว่าเอาสตรอว์เบอร์รี่กลับขึ้นไปเสียบนเขา

อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านแม่โต๋และหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลอีกหลายแห่งจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ด้วยวิสัยทัศน์ “The Country of One Digital” ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใต้โครงการ USO NET โดยใช้นวัตกรรมโซลูชันของหัวเว่ยในการวางสายเคเบิลไฟเบอร์ออพติกเพื่อเชื่อมต่อหมู่บ้านแม่โต๋

จากหมู่บ้านห่างไกล สู่ใกล้แค่เอื้อมในเวลาเพียงหนึ่งปี

เมื่อได้รับการเชื่อมต่อจากเครือข่ายบรอดแบนด์และ Wi-Fi ทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตพร้อมใช้งานก็ครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการปฎิรูปครั้งประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านแม่โต๋

ศูนย์ USO หมู่บ้านแม่โต๋

ณ ศูนย์ USO NET เด็กหญิงพรฟ้าและเพื่อนๆ สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ช่วยให้เด็กๆ ในหมู่บ้านค้นหาความรู้และตามหาความฝันได้เช่นเดียวกับเด็กๆ ในเมือง

ศูนย์ USO หมู่บ้านแม่โต๋

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดภายในรั้วโรงเรียนเท่านั้น บริการแพทย์ทางไกลภายในศูนย์ USO NET ยังทำให้นาย ขัน สามารถเดินทางมาที่ศูนย์อนามัยและใช้บริการอุปกรณ์แพทย์ทางไกลแบบพกพาเพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ได้ทันที โดยแพทย์ประจำหมู่บ้านจะรวบรวมข้อมูล ส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญในเมืองผ่านการส่งภาพแบบเรียลไทม์ และสามารถวินิจฉัยได้โดยละเอียด

การขายสตรอว์เบอร์รี่ของนางสาว อิน ก็เริ่มดีขึ้น เธอสามารถขยายการขายผลผลิตได้ผ่านการไลฟ์ออนไลน์ เช่นเดียวกับชาวสวนในหมู่บ้านอีกหลายคนที่ค่อยๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น และยังมีทีม USO ที่ช่วยสอนชาวบ้านในหมู่บ้าน ยกระดับชีวิตไปอีกขั้นผ่านระบบรูปแบบออนไลน์

ผู้สูงอายุในหมู่บ้านก็สามารถติดต่อกับลูกหลานที่ทำงานในเมืองได้ และได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกภายนอก นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังช่วยให้หมู่บ้านที่ห่างไกลได้สัมผัสโลกดิจิทัลเป็นครั้งแรก

“โครงการ USO 2.0 ช่วยติดตั้งบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตให้กับหมู่บ้าน 19,652 แห่ง และโครงการ USO 3.0 ก็อยู่ในช่วงวางแผนดำเนินการต่อ โดย กสทช. มุ่งมั่นที่จะขยายแบนด์วิดท์และบริการเครือข่ายให้กับชาวบ้านเพื่อการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้น” สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. กล่าว

สะพานดิจิทัลได้รับการเชื่อมต่อได้อย่างไร?

ในปี พ.ศ. 2561 ทีมงานของโครงการพบว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเขาในจังหวัดเชียงใหม่นั้นไม่ได้แค่อยู่ไกลจากตัวเมือง แต่ยังกระจายตัวทั่วหมู่บ้าน การจะติดตั้งเทคโนโลยีโครงข่ายใยแก้วนำแสงแบบส่งตรงถึงบ้าน (FTTH) แบบพื้นฐาน จำเป็นต้องใช้พื้นที่สำหรับอุปกรณ์และสายเคเบิลขนาดใหญ่อีกหลายสิบกิโลเมตร ซึ่งนอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมาก ยังสร้างมลภาวะและเป็นโมเดลเครือข่ายการเชื่อมต่อที่ไม่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งโซลูชัน AirPON ของหัวเว่ยสามารถตอบโจทย์ โดยใช้เสาสัญญาณและสายไฟเบอร์ที่มีอยู่แล้วในการสร้าง “ห้องอุปกรณ์เครือข่ายเสมือนจริง”

AirPON กลายเป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่ช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ด้วยความเร็วสูงในพื้นที่ที่ห่างไกลและยากต่อการเข้าถึง ผ่านเสาสัญญาณและสายไฟเบอร์ที่มีอยู่แล้ว และยังเป็นโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานต่ำอีกด้วย

“โซลูชัน AirPON เชื่อมต่อเทอร์มินัลสำหรับสายออพติคัล (OLT – Optical Line Terminal) ไปยังเสาสัญญาณในพื้นที่ ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และหัวเว่ยภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ USO” คุณานนต์ ดอนกุศล วิศวกรอาวุโส บริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าว

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles