ยูนิโคล่ ประเทศไทย ตอกย้ำจุดยืนด้านความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม และ สังคมไทย  เผยเป้าหมายด้านความยั่งยืนระยะกลาง ตั้งแต่ปี 2566 – 2568  จากความคิดริเริ่มสู่แคมเปญที่ลงมือทำจริง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย

Share

 

ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) เดินหน้าแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืน เพื่อตอกย้ำพันธกิจด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ในการ ปลดล็อคพลังแห่งเสื้อผ้า” โดยให้ความสำคัญกับผู้คน (people) โลก (planet) และชุมชน (community) พร้อมสานต่อแผนปฏิบัติการสำหรับความยั่งยืนภายในปีงบประมาณ 2030  ของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ผ่านแนวคิดไลฟ์แวร์ (LifeWear) เพื่อเป้าหมายการเป็นเสื้อผ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

เป้าหมายและแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืนในปีงบประมาณ 2030 ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง:

เป้าหมายและแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืนระดับโลกในปีงบประมาณ 2030 ด้วยความคิดริเริ่มสำคัญ 2 ประการ

  • ผลิตเสื้อผ้าที่ดีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่นำสมัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา

  • ผลิตเสื้อผ้าที่ดีสำหรับผู้คนและสังคม

ส่งเสริมการจัดตั้งสภาพแวดล้อมการทำงานที่สามารถปกป้องสุขภาพ ความปลอดภัย และสิทธิมนุษยชนของทุกๆ คน รวมถึงพนักงานของบริษัทและผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการทั้งหมด ตลอดจนดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ทั้งในระดับสากลและระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้นร่วมกับลูกค้า

สำหรับยูนิโคล่ (ประเทศไทย) นอกจากการสานต่อตามเป้าหมายและแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืนในปีงบประมาณ 2030 ของฟาสต์ รีเทลลิ่งแล้ว ยังได้กำหนดระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ของแผนของการพัฒนาที่ยั่งยืน ไว้ดังต่อไปนี้

 

เป้าหมายระยะกลางของยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ตั้งแต่ปี 2566 – 2568 มุ่งสู่ “บริษัทร่วมทุนที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย”

เป้าหมายด้านความยั่งยืนของยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ได้รับการประเมินว่าเป็นไปตามแผนของการพัฒนาสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือย่อว่า SDGs) ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) โดยเน้นเป้าหมายที่ 3 – สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย, เป้าหมายที่ 14 – อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ เป้าหมายที่ 15 – ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกจากนี้ ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ยังได้กำหนดระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ของแผนของการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นตัวชี้วัดในการทำตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่กำหนดภายในปี 2568

 

กิจกรรมเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย: ความคิดริเริ่มหลักในปี 25652566

ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ร่วมส่งเสริมชุมชน สนับสนุนสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ  อาทิ

  • การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (IREC) ทั้งร้านสาขา และ สำนักงานใหญ่
  • การช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น การบริจาคเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วม ที่จ.อุบล ในปี 2565 เหตุการณ์โกดังเก็บพลุระเบิดที่ อ. สุไหงโก-ลก จ. นราธิวาส และ การบริจาคหน้ากากอนามัยในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา
  • สนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันการเก็บขยะ SPOGOMI World Cup
  • UNIQLO Recycling Clothes Donation ภายใต้โครงการ UNIQLO
  • แผนงานความร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดภาวะโลกร้อนกจากก๊าซเรือนกระจก
  • เพิ่มสัดส่วนการผลิตสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืน

แคมเปญ RE.UNIQLO

แคมเปญ RE.UNIQLO สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในลำดับที่ 3, 14 และ 15 ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ส่งเสริมการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อรับรองการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสวัสดิการต่างๆ สำหรับทุกช่วงวัย รวมถึงสภาวะของธรรมชาติทั้งบนดินและใต้น้ำที่สะอาดและสมบูรณ์

โดยนับตั้งแต่เริ่มโครงการ UNIQLO Recycling Clothes Donation ในปี 2558 ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ปัจจุบัน ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ได้ส่งต่อเสื้อผ้าที่ได้รวบรวมจากลูกค้าทั่วประเทศมากกว่า 194,273 ชิ้น ให้กับองค์กรพันธมิตรต่างๆ ในระดับท้องถิ่น

ยิ่งไปกว่านั้น ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) กำลังเตรียมเปิดตัว RE.UNIQLO STUDIO เป็นครั้งแรก ภายใต้คอนเซปต์ Repair/Remake/ Reuse/Recycle เพื่อเป็นการนำเสื้อผ้ากลับมาซ่อมแซมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ต่ออายุการใช้งาน และนำไอเทมโปรดกลับมาใช้หมุนเวียนอีกครั้ง โดย RE.UNIQLO STUDIO จะเปิดให้บริการที่ร้านยูนิโคล่ เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นสาขาแรกในประเทศไทย โดยนำเทคนิคการตัดเย็บด้วยมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น หรือ ที่เรียกว่า Sashiko มาให้บริการด้วยเช่นกัน

มร. โยชิทาเกะ วาคากุวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะหนึ่งในบริษัทเครื่องแต่งกายชั้นนำระดับโลก ยูนิโคล่ให้ความสำคัญกับผู้คน สังคม และโลก ในฐานะ Global Citizen ที่ดี ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) มุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะตอบสนองสังคมระดับท้องถิ่น เราจึงได้วางเป้าหมายระยะกลางของยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ตั้งแต่ปี 2566 – 2568 เพื่อผลักดันให้ความคิดริเริ่มต่างๆ ของเราเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หนึ่งในความมุ่งมั่นในปีนี้ของยูนิโคล่ (ประเทศไทย) คือ การรวบรวมเสื้อผ้ากันหนาว จำนวน 50,000 ชิ้น ภายใต้โครงการ RE.UNIQLO ซึ่งเราได้เล็งเห็นถึงปัญหาและช่วยเหลือสังคมไทย ในเรื่องของจำนวนเสื้อผ้าที่กลายเป็นขยะฝังกลบในประเทศไทย และการขาดแคลนเสื้อผ้ากันหนาวของผู้ประสบภัยหนาวทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวที่อากาศบนดอยหนาวเย็นกว่าปกติ โดยในปี 2566 กิจกรรมRE.UNIQLO ตั้งเป้าหมายที่จะส่งต่อเสื้อผ้ากันหนาวจำนวน 50,000 ชิ้น ผ่านองค์กรพันธมิตรต่างๆ ภายในเดือน ธันวาคม 2566 จึงอยากจะเชิญชวนลูกค้าของยูนิโคล่ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชาวไทยด้วยกันในครั้งนี้ เพื่อมอบน้ำใจและความอบอุ่น เพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังมีพันธมิตรที่ช่วยนำส่งความอบอุ่นให้แก่

ผู้ประสบภัยหนาวจาก 3 องค์กร อย่างมูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิบ้านร่มไทร และ UNHCR  ที่จะเป็นตัวแทนส่งมอบเสื้อหนาวที่ได้รับการบริจาคจากยูนิโคล่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 อีกด้วย”

“ยูนิโคล่ ยังคงเดินหน้ากิจกรรมด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายในการทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของคนไทยดียิ่งขึ้น เพราะผลลัพธ์ที่เราลงมือทำนั้นมีทั้งที่เห็นผลเลยในระยะสั้น และต้องรอผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ให้คำมั่นว่าเราจะยืนหยัดกิจกรรมด้านความยั่งยืนพร้อมลงมือทำจริง เพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ไปด้วยกัน” มร. โยชิทาเกะ วาคากุวะ กล่าวสรุป

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles